แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
อายุ 2-3 ขวบ เด็กส่วนใหญ่จะสามารถพูดคุยรู้เรื่องแล้ว
พัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาของเด็กจะมีความเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ
ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงสามารถเข้าใจคำสั่งยาวๆ ที่มากกว่า 1 ขั้นตอนได้ เข้าใจคำบุพบทง่ายๆ ได้ เช่น บนหรือใต้
รวมทั้งคำคุณศัพท์หรือคำที่ใช้ขยายความในประโยชคได้ดี
ภาษาพูดโดยเฉลี่ยของเด็กวัยนี้มักจะเป็นประโยคนั้นๆ หรือบางคนสามารถพูดเป็นประโยคยาวๆ
คล้ายเล่าเรื่อง เนื่องจากเด็กพัฒนาการทางสังคมมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรค่อยๆ
สอนให้ลูกรู้จักการใช้ภาษาพูดหรือวิธีการสื่อสารกับผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ
อย่างเหมาะสม เช่น การพูดทักทาย พูดบอกความต้องได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ขอเล่นด้วย
หรือแม้แต่บอกปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ต้องการ กล่าวของคุณ หรือขอโทษ เป็นต้น
แม้เขาจะยังไม่เข้าใจนัก
แต่จะช่วยให้มีทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดีความสำคัญของการสื่อภาษา การสื่อภาษา เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบความคิด สติปัญญา
การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะทางภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน
สมองจะมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถในการรับรู้ และการสื่อสารอย่างเต็มที่ ไปพร้อมๆ
กับการเรียนรู้ด้านสังคม และอารมณ์ การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า
พัฒนาการทางภาษาส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยรวมของเด็ก
เพราะภาษาช่วยเสริมสร้างความสามารถในการคิด และการแก้ปัญหา
ทั้งยังช่วยในการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอีกด้วยหากเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสรรพเสียง
มีจังหวะ ทำนอง มีเสียงพูดคุยสื่อสารกันของผู้คน
จะทำให้การทำงานของสมองเด็กเกิดการพัฒนาที่ซับซ้อนขึ้น
และมีพัฒนาการทางภาษาอย่างรวดเร็ว
จากการทำกิจกรรมนี้จะเห็นได้ชัดจากการที่เด็กทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
และร้องเพลงด้วยความสุข เด็กได้ฝึกภาษาโดยการร้องเพลง
ทำให้เด็กเริ่มพูดชัดขึ้น มีพัฒนาการทางภาษาที่ดี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น