ยินดีต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16




วันนี้เรียนเรื่อง  Tablet


                          โดยอาจารย์ให้วิเคราะห์ การที่รัฐบาลแจก Tablet ให้กับเด็ก  ป. 1 ในความคิดเห็นของเราเป็นอย่างไรเกี่ยวข้องกับเราหรือไม่  ความคิดเห็นของเราเป็นอย่างไร  แนวทางการวิเคราะห์
ให้เหตุผล  ข้อดี  ข้อเสีย  ผลกระทบ  สื่อกรณีนั้นออกมาเป็นคำพูด เช่น ทำ My map เพื่อสื่อให้คนรู้เรื่อง
บทกลอน  ตารางเปรียบเทียบ  บอกประโยชน์ เช่น เด็กต้องได้เนื้อหา ทักษะ จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
                                                                           

ด้านการศึกษามารู้จักประโยชน์ของการใช้ Tablet ในด้านการศึกษากัน ความสามารถมากมาย เมื่อใช้ Tablet แทนตำราเรียน ช่วยบันทึกข้อมูลการเรียน การสอนได้หลายรูปแบบ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือใช้แทนสื่อการเรียนการสอน1. ขนาดเล็ก พกพาสะดวก น้ำหนักเบา 2. แบตเตอรี่ทำงานได้ยาวนานกว่า 3. บางรุ่นสามารถหมุนหน้าจอได้ บางรุ่นสามารถแยกแป้นพิมพ์ออกจากกันได้ 4. สามารถใช้ปากกาดิจิตอลหรือปลายนิ้วสัมผัสสั่งงานได้โดยตรงจากหน้าจอ 5. สามารถเขียนด้วยลายมือด้วยปากกาดิจิตอลและแปลงเป็นตัวอักษรได้อัตโนมัติ 6. Microsoft Office ก็มีรุ่นที่รองรับกับ Tablet PC โดยเฉพาะเช่นกัน 7. มีโปรแกรมเสริมอื่นๆ อีก ที่รองรับการใช้งาน Tablet PC 8. สะดวกและเหมาะสำหรับการนำเสนอ เพราะขนาดบางเบา แถมหมุนหน้าจอได้ระหว่างการนำเสนองานข้อดีคือ- ทำให้เด็กไทยรุ่นใหม่ได้ก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น และได้เรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อยเพราะเมื่อแก่ตัวไปก็จะสายเกินกว่าจะเรียนรู้แล้ว- เมื่อมีการนำหลักสูตรและตำราเรียนต่างๆมาใส่ไว้ใน Tablet ก็สามารถปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้เด็กได้เรียนรู้โปรแกรมใหม่ๆนอกเหนือจากในตำราเรียน- เป็นการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีให้แก่เด็กเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน และการประกอบอาชีพในอนาคต- มันใช้แทนกระดาษได้จ้า...เพราะต้นไม้ที่จะให้ทำกระดาษน่ะ มันไม่มีจะให้ตัดแล้ว- ช่วยกระตุ้นให้ครูที่หมดไฟทั้งหลาย เริ่มมองดูตัวเองให้มากขึ้นข้อเสียคือ- ข้อเสียที่สำคัญและเห็นได้ชัด คือ เมื่อเด็กใช้ Tablet ไปนานๆ มองหน้าจอนานๆก็จะส่งผลระยะยาวกับสายตาของเด็กคือ ทำให้สายตาเสียตั้งแต่อายุยังน้อยและอาจส่งผลไปเรื่อยๆในระยะยาว- เด็กในวัยนี้ถือว่ายังมีวุฒิภาวะที่ไม่เพียงพอที่จะดูแลรักษาของเหล่านี้ได้ อาจทำหายหรือเกิดความชำรุดเสียหายได้ และทำให้เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ- สิ่งที่เป็นปัญหาของเด็กไทยที่สำคัญเลยตอนนี้ก็คือปัญหาการติดเกมส์ และเมื่อมีการแจก Tablet ให้เด็กไป เด็กไว้นี้อาจจะนำไปใช้ในทางที่ผิดคือนำไปเล่นเกมส์และนำไปเปิดเว็บที่ไม่เหมาะสมได้- ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในประเทศไทยของเรายังไม่มีการปล่อย wifi ในทั่วประเทศ เมื่อรัฐบาลจะแจกให้กับเด็กทั่วประเทศ ก็จะไม่มีการออนไลน์ก็เหมือนกับเด็กได้เรียนรู้เท่าเดิม คือแค่ได้เรียนในตำราเรียนที่ย่อลงไปใน Tablet ไม่ได้มีความรู้เพิ่มเติมจากโลกออนไลน์เลย


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15




    วันนี้อาจารย์ตรวจ Blogger ของนักศึกษาพร้อมติชม เพื่อให้นักศึกษาได้ไปปรับปรุงแก้ไข และได้สรุปสาระการเรียนรู้จากการทำ Blogger ว่าเราได้ประโยชน์อะไรบ้าง


  กระบวนการทำงานสามารถสรุปได้ดังนี้

- ตั้งวัตถุประสงค์
- ศึกษาข้อมูล
- วิเคราะห์
- ปฏิบัติ
- ปรับปรุงและตกแต่ง

 

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14



อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลงออกมร้องเพลงให้ครบ และต่อด้วยการเล่านิทานตามเทคนิคต่างๆของแต่ละกลุ่ม 


กลุ่มที่เพลง แปรงฟันกันเถอะ
กลุ่มที่เพลงเชิญมาเล่น
กลุ่มที่เพลงท้องฟ้าแสนงาม
กลุ่มที่เพลง เดิน เดิน เดิน
กลุ่มที่เพลงเด็กจอมพลัง5
การเล่านิทานเทคนิคต่างๆ



 เล่าไปฉีกไป
-เรื่องช้างมีน้ำใจ
  -เจ้าแกะกับดวงอาทิตย์
-กบน้อยแสนซน
เล่าไปวาดไป
-ดาวเคราะห์ของคุณยาย
-ครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง
-ตุ้งแช่จอมซน
-ความสุขของคุณยาย
-พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง
เล่าไปพับไป
-เจ้าแสนซน
-ต้นไม้ของเรา
-น้องมดอยากไปเที่ยวทะเล
-แพวิเศษ
-ยักษ์สองตน
เล่าไปตัดไป
-วันหยุดของน้องเบส
-พระจันทร์ไม่มีเพื่อน
เล่าโดยใช้เชือก
-กระต่ายน้อยเพื่อนเกลอ
-โจรใจร้าย
-เจ้างูน้อยกับเถาวัลย์
กลุ่มของดิฉันได้ เล่าไป วาดไป เรื่องดาวเคราะห์ของคุณยาย





วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13













วันนี้อาจารย์สรุปเรื่องภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการมักความเปลี่ยนแปลงไปทางด้านปริมาณและคุณภาพ
ได้รับอิทธิพลจากสิ่งสำคัญ คือ
1.องค์ประกอบของพัฒนาการ วุฒิภาวะ การเรียนรู้
2.แบบแผนของพัฒนาการ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ
ความสมพันธ์ของพัฒนาการแต่ละด้าน ลักษณะเด่นของพัฒนาการ
ความคาดหวงของพัฒนาการ ความเสอมของพัฒนาการ
3.ลักษณะของพัฒนาการ  ร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ สงคม สิตปัญญา 
4.อัตราของพัฒนาการ ความแตกตางภายในและระหว่างบุคคล
พัฒนาการทางภาษาของเดกปฐมวัย
ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นสัมพันธ์ในการดำรงชีวิต ที่ต้องติดต่อสร้างสัมพันธ์ทางสังคมที่ตนดำรงอยู่
2.ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
3.ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด เรียนด้วยตนเองจากสื่อ
4.ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางแต่ละเผาชน  ชนชาติแสดงออกให้เห็น
5.ภาษาเป็นเอกลักษณ์ ประจำชาติ
6.ภาษาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
7.ภาษาเป็นสิ่งที่ใช้แสดงออกเพื่อระบายอารมณ์ จากการได้สนทนาพูดคุย
8.การใช้ภาษาของมนุษย์เป็นเครื่องบ่งบอก ถึงบุคลิกภาพของผู้พูด
9.ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้โน้มน้าวใจคน


บูรณาการภาษาผ่าน 6 กิจกรรม 

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

*** สัปดาห็หน้าให้แต่ละกลุ่มออกมาเล่านิทานที่กลุ่มตนได้รับผิดชอบ

กลุ่มของดิฉันได้  เล่าไปวาดไป  

เรื่่องดาวเคราะห์น้อยของคุณยาย






วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12







อาจารย์ให้ออกมาร้องเพลงแอาจารย์ให้ออกมาร้องเพลงและเต้นประกอบท่าของกลุ่มตนเอง  แล้วสอนเพื่อนร้องเพลงพร้อมกับท่าเต้นอาจารย์ให้ถ่ายวิดีโอไว้เป็นผลงานของเรา




วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11


  อาจารย์ให้ฟังเพลง  เกาะสมุย ฟังเพลงนี้แล้วได้ประโยชน์อะไร    วัตถุประสงค์ในการฟัง  ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร-  ได้รู้จักเกาะสมุย ทะเล เปป็นที่ที่คนอยากจะไปพักผ่อนหลบร้อนกัน ไปเที่ยวทะเลที่ฮอตและฮิตที่สุดของทั้งชาวไทยและชาว ต่างชาติที่ เกาะสมุย"สวรรค์กลางอ่าวไทย มีทั้งภาษาไทยกับภาษาอังกฤษในบทเพลง ทำให้น่าค้นหาและติดตาม 

อาจารย์เล่านิทานยกตัวอย่าง  ช้างน้อยอัลเฟรด

เรื่องย่อ         อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใครแนวคิดสำคัญ
images/stories/alf35.png
แม้ว่าเด็กๆ จะแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆ ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
images/stories/alf35.png
 การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆ ควรปฏิบัติอยู่เสมอ
 images/stories/alf35.png
 เด็กๆ ควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ                                              

              หลังจากที่ครูเล่าเรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" ให้เด็กฟังแล้ว เด็กๆ ผลัดเปลี่ยนกันออกมาเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ ฟัง ทั้งการเล่าเรื่องจากหนังสือนิทาน และเล่าเรื่องโดยการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากนิทาน กิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่องราว เด็กได้ฝึกแปลความ ตีความ คาดคะเนตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง และเก็บประเด็นสำคัญ แล้วผสมผสานสิ่งที่ฟังเป็นเรื่องราว แล้วพูดถ่ายทอดความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอ่าน      เด็กๆ ทำท่าทางประกอบเพลงช้างน้อยอัลเฟรด กิจกรรมนี้ทำให้เด็กๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสนุกสนาน ฝึกการทรงตัว และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่งานที่สั่ง  ให้แต่ละกลุ่มแต่งเพลง  อะไรก็ได้  นำเสอ power point ทำนองอะไรก็ได้  พร้อมท่าประกอบเพลงเล่านิทาน  เล่าไปวาดไปทำในสัปดาห์ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11





เรียนชดเชย        สิ่งที่เรียนในวันนี้  อาจารย์อธิบายเรื่องปฏิทิน ปฏิทินทำขึ้นมาเพื่อ เป็นสื่อหรือตัวกลาง และเป็นสาระที่จะใช้ในการสื่อภาษาทั้งฟัง พูด  อ่าน และเขียน พูด  โฆษณา ของรักของหวง  ประชาสัมพันธ์ เล่าข่าว  เรื่องเล่าเสาร์ - อาทิตย์  กิจกรรมส่งเสริมทักษะ เช่น  การฟังนิทาน  ท่องคำคล้องจอง  ฟัง    นิทาน  เพลง  คำคล้องจอง  ปริศนาคำทาย              คลื่นเสียง  ดนตรี  จังหวะ  อัดเทปเสียงอ่าน    นิทาน  ทำท่าเขียน   ภาพ  อักษรอักษรที่ใช้คืออักษรสูง =  ศ ฐ ข ส ถ ผ ฝ ห ฉ อักษรกลาง = ก จ ด ต บ ป อ อักษรต่ำ = ง ญ น ย ณ ร ว ฬ ล สระ =  อะ   อา , - อิ อี ,  อุ อู , แอะ  แอ , เอะ เอ, โอะ  โอกลุ่มของดิฉันได้อักษรต่ำ = ง ญ น ย ณ ร ว ฬ ล    สระ =  เอะ  เอกิจกรรมที่เรียนในวันนี้คือ  ให้นักศึกษาหยิบของรักมา 1 อย่างและบอกด้วยว่า  ทำไมถึงรักของสิ่งนี้- โทรศัพท์ Blackberry  เพราะ  ซื้อเองและเป็นคนสังคมกว้าง  จึงรักโทรศัพท์เครื่องนี้มากให้นักศึกษาโฆษณาสินค้า 1 อย่าง - ร่ม  ร่มมาใหม่มาแรง  กันรังสียูวีได้ดีให้วาดภาพอะไรก็ได้  แล้วให้นำภาพที่วาดมารวมกับเพื่อน เล่าให้เป็นนิทานให้สมบูรณ์แบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ 2 คน  รายงานข่าวกับประชาสัมพันธ์ทุกกิจกรรมที่เรียนในวันนี้  ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็ก  ได้เป็นอย่างดีโดยมีสื่อเป็นตัวช่วยในการสื่อสาร



วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10





                ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจาก อาจารย์ให้ไปเรียนชดเชย

                 วัน อาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 ณ ห้อง 223 เวลา 13.00 น. 

          สั่งงานคือ 
             
                  ให้เตรียมปฏิทินมาตกแต่งด้วย  และอาจารย์จะอธิบายพร้อมให้ทำงานในห้องให้เสร็จด้วย

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9



    

                       การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์สั่งงานให้ทำสื่อปฏิทิน โดยนำปฏิทินเก่ามา Recycleเพื่อให้เกิดประโยชน์กับเด็กๆ โดยที่อาจารย์จะมอบหมายงานโดยการให้แบ่งกลุ่มและจะบอกว่าให้ทำอย่างไรต่อไป โดยที่นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์  คือ ปฏิทินตั้งโต๊ะ สี กรรไกร และอุกรณืในการตกแต่งมารับงานในวัน พุธ ที่ 15 สิงหาคม 2555







วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน   เนื่องจากวันหยุดราชการ 

 วันเข้าพรรษา


  วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น 
          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" 
          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด 

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7



เวลา 09.00 - 09.30 น. เล่านิทานจากหนังสือเล่มเล็กให้น้องฟัง

นิทานเรื่อง แม่ครับข้าวตังขอโทษ
จากการเล่านิทานให้เด็กๆฟังนั้น เริ่มแรกเด็กไม่ค่อยจะฟัง เมื่อเล่าเรื่องไปได้สักระยะเด็กเริ่มให้ความสนใจกับนิทาน เพราะเรื่องที่เล่าน่าติดตามไปเรื่อยๆว่าเหตุการณ์ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นเด็กเริ่มค่อยๆขยับเข้ามา เริ่มให้ความสนใจกับนิทานที่ฟัง เมื่อมาถึงกลางเรื่องที่เล่าเด็กก็เริ่มตั้งใจฟังเด็กสามารถตอบได้ว่า เหตุการณ์นั้นจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเด็กคนหนึ่งให้ควาามสนใจกับนิทานมาก เขาจึงมานั่งหน้า และพูดตามเป็นบางครั้ง การเล่านิทานเป็นอันเสร็จสมบรูณ์ และเด็กสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารกับภาพเหตุการณ์นั้นๆได้ 

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

 
  อาจารย์สั่งงานโดยให้แบ่งกลุ่ม เล่านิทานให้เด็กฟัง  โดยให้แบ่งดังนี้
เเล่านิทานจากนิทานเล่มเล็ก  แบ่งเกณฑ์โดย   อนุบาล 1 2 3 และประถม 1
   

หนังสือเล่มใหญ่   แบ่งเกณฑ์โดย   อนุบาล 1 2 3 และประถม 1




วีดีโอ  แบ่งเกณฑ์โดย   อนุบาล 1 2 3 และประถม 1


                         โดยให้แต่ละกลุ่มไปเล่านิทานให้เด็กๆฟังตามที่ได้รับมอบหมาย  หลังจากการเล่านิทานแล้ว  ให้ผู้ที่ไปเล่านิทาน  สรุปความคิดเห็นร่วมกัน

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5





อายุ 2-3 ขวบ เด็กส่วนใหญ่จะสามารถพูดคุยรู้เรื่องแล้ว พัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาของเด็กจะมีความเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงสามารถเข้าใจคำสั่งยาวๆ ที่มากกว่า 1 ขั้นตอนได้ เข้าใจคำบุพบทง่ายๆ ได้ เช่น บนหรือใต้ รวมทั้งคำคุณศัพท์หรือคำที่ใช้ขยายความในประโยชคได้ดี ภาษาพูดโดยเฉลี่ยของเด็กวัยนี้มักจะเป็นประโยคนั้นๆ หรือบางคนสามารถพูดเป็นประโยคยาวๆ คล้ายเล่าเรื่อง เนื่องจากเด็กพัฒนาการทางสังคมมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรค่อยๆ สอนให้ลูกรู้จักการใช้ภาษาพูดหรือวิธีการสื่อสารกับผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม เช่น การพูดทักทาย พูดบอกความต้องได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ขอเล่นด้วย หรือแม้แต่บอกปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ต้องการ กล่าวของคุณ หรือขอโทษ เป็นต้น แม้เขาจะยังไม่เข้าใจนัก แต่จะช่วยให้มีทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดีความสำคัญของการสื่อภาษา การสื่อภาษา เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบความคิด สติปัญญา การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะทางภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน สมองจะมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถในการรับรู้ และการสื่อสารอย่างเต็มที่ ไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ด้านสังคม และอารมณ์ การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า พัฒนาการทางภาษาส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยรวมของเด็ก เพราะภาษาช่วยเสริมสร้างความสามารถในการคิด และการแก้ปัญหา ทั้งยังช่วยในการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอีกด้วยหากเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสรรพเสียง มีจังหวะ ทำนอง มีเสียงพูดคุยสื่อสารกันของผู้คน จะทำให้การทำงานของสมองเด็กเกิดการพัฒนาที่ซับซ้อนขึ้น และมีพัฒนาการทางภาษาอย่างรวดเร็ว


จากการทำกิจกรรมนี้จะเห็นได้ชัดจากการที่เด็กทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน  และร้องเพลงด้วยความสุข  เด็กได้ฝึกภาษาโดยการร้องเพลง ทำให้เด็กเริ่มพูดชัดขึ้น  มีพัฒนาการทางภาษาที่ดี

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4



                วันนี้ไม่มีการรายงานหน้าชั้น อาจารย์ให้ทุกกลุ่มกลับไปแก้ไข ในสัปดาห็ถัดไปให้รายงานทุกกลุ่ม และเตรียมตัวให้พร้อม  แต่อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอรายงานให้น่าสนใจ โดยจะทำอย่างไรก็ได้

และให้น่าติดตาม

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่3



ไม่มีการเรียนการสอน
                       แต่อาจารย์สั่งงาน  ให้นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้ารายละเอียดในหัวข้อที่ได้รับ มาทำรายงาน แต่ละกลุ่มรายงานในสัปดาห์ที่ 4  

                             พัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็ก 
    วัยเด็กเล็กมีความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในส่วนนี้ดูเม็กซ์ได้รวบรวมคำแนะนำดีๆ ที่เหมาะสมกับพัฒนาการการเรียนรู้ ทั้งด้านอารมณ์และร่างกายของเด็กวัยนี้ อีกทั้งยังมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับโภชนาการที่เด็กต้องการในการเจริญเติบโตด้วยค่ะ ในช่วงขวบวัยนี้เป็นช่วงที่สำคัญอย่างมากเพราะลูกกำลังเรียนรู้ที่จะตอบโต้ และปฏิกิริยากับสิ่งรอบตัวค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านหรือคำปรึกษาจากดูเม็กซ์แคร์ไลน์ได้เสมอ  เด็กวัยนี้จะสงบเรียบร้อยมาขึ้นคล้อยตามผู้ใหญ่ได้ง่าย ลูกจะยึดพ่อแม่เป็นแบบอย่าง พยายามเลียนแบบคำพูดและท่าทาง ท่าทีอันเป็นปฏิปักษ์และเกรี้ยวกราดจะลดลงกว่าเดือนก่อนๆ จะเห็นได้ชัดว่าลูกเริ่มมำความเข้าใจได้ว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ร่วมมือกับผู้ใหญ่ได้ดีมาก

พัฒนาการทางภาษา


เมื่อวัย 2 ขวบลูกจะรู้จักคำศัพท์ต่างๆ มากแต่พอ 3 ขวบ จะนำเอาคำเหล่านั้นมาร้อยเรียงเป็นคำพูด ในวัยนี้คำพูดจะกลายเป็นเครื่องมือในการเรียบเรียงความคิดต่างๆ สั้นบ้าง ยาวบ้าง ตามแต่จะคิดสรรหามา
เวลาที่ผู้ใหญ่พูดคุยกัน จะสังเกตเห็นเจ้าหนูคอยเงี่ยหูฟัง เพื่อจดจำคำศัพท์และบทสนทนา ลูกจะชอบฟังนิทาน เพลง บอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นเล่าเรื่องที่เคยอ่านให้ฟัง จะเล่นเป็นสุนัข เป็ด ไก่ พร้อมกับทำเสียงสัตว์นั้นประกอบ
เด็กเก็บตัว

พัฒนาการในด้านการเล่น

เด็กวัยนี้ช่างฝัน ขอบใช้สัญลักษณ์ เขาจะชอบเล่นสมมติเป็นชีวิตจิตใจ และการเล่นแบบนี้เองที่จะทำให้เกิดการพัฒนาความคิดรวบยอดในเด็กขึ้น

เด็กทั้งชายและหญิงในวัยนี้ชอบเป็นทั้งนักพูดและนักทำ เด็กจะเรียนรู้ทักษะทางภาษา การคิดและตัดสินใจ เด็กทุกคนชอบเล่นสมมติและได้รับประโยชน์มากมายจากการเล่นชนิดนี้ แกจะเลือกเล่นหรือใช้ของเล่นจินตนาการ ทำให้เกิดความเข้าใจตนเองและสังคมรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น เปียเจต์ นักจิตวิทยาท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า
การเล่นสมมติจะทำให้ผู้เล่นเกิดความรู้สึกพึงพอใจในตัวเอง ในการเปลี่ยนความจริงให้เป็น ความปรารถนาเป็นการก่อรากฐานทางอารมณ์และพัฒนาความคิดให้กว้างไกลออกไป เป็นจุดเริ่มต้นของความเชื่อมั่นในตนเอง
แม้ว่าเด็กวัยนี้จะกำลังเจริญเติบโต เคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น แต่กลับชอบนั่งเล่นอยู่กับที่ จะเล่นลูกบอลหรือวิ่งเล่นได้เพียงระยะสั้นๆ เท่านั้นของเล่นที่โปรดปรานมากที่สุดคือ ภาพต่อ และ โดมิโนรูปภาพ
เด็กที่ได้เล่นจะมีสุขภาพจิตดี สดใส ร่าเริง การเล่นเป็นเครื่องมือช่วยปลดเปลื้อง หรือผ่อนคลายอารมณ์ได้ดีทีเดียว บางครั้งแกจะชอบนั่งเล่นคนเดียว บางครั้งก็เป็นกลุ่ม ไม่แน่นอน ควรปล่อยให้ลูกได้เล่นให้มาก เพราะเป็นการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะทางสังคม และความคิดให้กว้างไกล อิสระและเป็นตัวของตัวเองมากยิ่งขึ้น
ตารางแสดงพัฒนาการของเด็กวัย 3-3ขวบครึ่ง

พัฒนาการทางร่างกาย


กล้ามเนื้อใหญ่
- ยืนขาเดียวได้
- ทรงตัว ปีนบนที่ลาดเอียงได้
- วิ่ง กระโดด ปีนป่ายได้ดี
- ทรงตัวนั่งได้ดี
- โยนและเตะลูกบอลได้
- เดินสลับเท้าขึ้นบันไดได้ แต่เวลาลงยังสลับเท้าไม่ด้
กล้ามเนื้อเล็ก
- ใช้มือได้ดี
- หยิบของชิ้นเล็กๆ ได้ ใช้กรรไกรตัดกระดาษได้
- วาดรูปวงกลมและกากบาทได้ตามแบบ
- บอกรูปลักษณะวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมได้ถูก้อง
- ต่อแท่งบล็อกได้ 9-10 ชั้น
- จับตามองสิ่งของที่เคลื่อนไหวได้


พัฒนาการทางภาษา

- ช่างพูด พูดจามีเหตุมีผล
- ชอบใช้คำถามว่า อะไร อย่างไร ทำไม เมื่อไร
- เรียกชื่อสิ่งของที่คุ้นเคยได้คล่อง
- สนใจหนังสือเกี่ยวกับสัตว์ นิทานต่างๆ


พัฒนาการทางสติปัญญา

- บอกรูปร่างและสีได้
- อธิบายรูปภาพต่างๆ ในหนังสือได้
- รู้ถึงความแตกต่างระหว่างชายหญิง
- เข้าใจตำแหน่ง เช่น บน ล่าง
- รู้จักเวลา เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
- ท่องจำเลข 1-10 ได้ แต่นับจำนวนได้เพียง 1-3

พัฒนาการทางสังคม

- เชื่อฟังมากขึ้น
- ชื่นชมบูชาแม่
- ชอบเข้ากลุ่ม มีท่าทีเป็นมิตร รู้ว่าสิ่งใดจะให้ประโยชน์แก่ตัวเอง
- รู้จักเก็บของเล่น

พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ
- สนใจท่าทางการแสดงออก
- สนใจเด็กเล็กกว่า อยากมีน้อง
- ขี้โมโห อิจฉาเป็น
- เริ่มฝันร้าย

พัฒนาการในด้านการเล่น

- สนใจเล่นได้นานถึง 20 นาที
- ชอบเล่นบล็อก ต่อภาพ ทราย น้ำ
- ชอบเล่นสมมติ
- ชอบของเล่นที่ได้ใช้มือ ชอบวาดรูป
- ชอบร้องเพลง


พัฒนาการเฉพาะวัย

- รู้จักใช้ช้อนส้อม ยกแก้วน้ำดื่มเองได้ดี
- เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้เอง
- ถอดและใส่เสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้าได้โดยมีผู้ใหญ่ช่วยปลดกระดุม รูดซิป ผูกเชือกร้องเท้า
- นอนหลับได้นานตอนกลางคืน

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2


เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
   การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 
   การจัดประสบการณ์                                                   
           หลักการ เทคนิค สื่อ  สภาพแวดล้อม ประเมินผล เด็กปฐมวัย 
ภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. เนื้อหา 2. ทักษะ  ฟัง พูด อ่าน เขียน               
 พัฒนาการเด็กจะดีเด็กต้องมีพัฒนาการในด้านที่เด็กถนัด  สิ่งที่สำคัญคือ ภาษา สติปัญญา คิด จำ วิเคราะห์ แยกแยะ สังเกต ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่ดี ทฤษฎีของเพียเจต์จากการทำงานของสมองขะช่วย ซึมซับ รับรู้ ภาพความรูใหม่ - ความรู้เก่าจะปรับเป็นความรู้ใหม่ พัฒนาการแรกเกิด - ประสาทสัมผัสทั้ง5  2-4 ปี ใช้ประโยคคำสั้นๆ 4-6 ปี  เริ่มพูดประโยคได้ยาวขึ้นตามพัฒนาการ  
วิธีกาารเรียนรู้ของเด็ก
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กระทำกับวัตถุ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นลิิ้มรส กายสัมผัส จมูกดมกลิ่น
การเล่นแบบอิสระ  การใช้ประสาทสัมผัสทั้้ง 5 ลงมือกระทำกับวัตถุอย่างอิสระ 
 งานที่มอบหมาย
หาทฤษฎีนำเสนอ - พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 3 ปี




วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1




อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสร้างข้อตกลงกัน

                       โดยให้นักศึกษาแต่งตัวให้ถูกระเบียบ  มาเรียนให้ตรงเวลา  ไมม่ให้ใส่เสื้อเอกมาเรียน
 มีการอบรมกันเล็กน้อยก่อนเข้าสู้เรื่องที่จะเรียนในวันนี้

สภาพห้องเรียน

วันนี้ย้ายมาเรียนห้อง 441 เป็นห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเล็กไปหน่อย  จำนวนนักศึกษามีมากกว่าคอมพิวเตอร์  ทำให้การเรียนในวันนี้ช้าลงไปหน่อย  

สิ่งที่เรียนในวันนี้

 เรียนเรื่องการทำ  Blog อาจารย์ให้นักศึกษาสร้าง Blog เพื่อใช้ในการบันทึกการเรียนในแต่ละครั้ง  และการส่งงานแต่ละอย่างให้บันทึกลง Blog เพื่อง่ายต่อการตรวจ  แต่คอมพิวเตอร์ในวันนี้ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้าง Blog เพราะเครื่องช้า บันทึกข้อมูลแทบจะไม่ได้ การทำ Blog  ในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน เครื่องละ 2 คน เพื่อสร้าง Blog  เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีไม่พอกับจำนวนนักศึกษา